เวอร์เนียร์ คาริเปอร์

สวัสดีครับเพื่อนๆ วันนี้เราจะมาพูดถึงกันเรื่อง เวอร์เนียร์

ประวัฒิของเวอร์เนียร์ คาลิเปอร์

เวอร์เนียร์หรือคาลิเปอร์ ในสมัยแรกๆถูกค้นพบในซากเรือกรีกโบราณ ใกล้เกาะจิลิโอ (Giglio) นอกฝั่งประเทศอิตาลี ซึ่งมีอายุราว 1 ศตวรรษก่อนพุทธศักราช คาลิเปอร์สมัยนั้นเป็นเพียงคีมทำด้วยไม้ธรรมดาเท่านั้น ต่อมาคาลิเปอร์ได้แพร่หลายไปยังชาวโรมันในฐานะเครื่องมือเพื่อความสะดวกในการวัดอีกด้วย ต่อมาในปี พ.ศ.552 สมัยราชวงศ์ซิน ชาวจีนโบราณได้คิดค้นคาลิเปอร์ทำด้วยสำริดขึ้นบนคาลิเปอร์ดังกล่าวจารึกว่าทำขึ้นในวันกุ้ยอิ้วซึ่งเป็นวันแรมหนึ่งค่ำเดือนเจียงปีที่หนึ่ง ยุคสื่อเจี้ยนกั๋ว คาลิเปอร์ที่ชาวจีนสร้างนี้เป็นต้นแบบของคาลิเปอร์ที่ใช้ในปัจจุบัน ซึ่งปรับปรุงโดยโจเซฟ บราวน์ (Joseph Brown) ชาวอเมริกัน ในปี พ.ศ. 2394 มีใช้แพร่หลายในหมู่ช่างกล 

คาลิเปอร์ภายใน

คาลิเปอร์ภายใน ใช้สำหรับวัดความกว้างยาวภายในของวัตถุ มักมีสปริงเป็นตัวช่วยให้ขาทั้งสองของคาลิเปอร์ถ่างออกจากกันได้สะดวก จากภาพ คาลิเปอร์อันบนใช้การถ่างด้วยมือให้ตรงกับขนาดของวัตถุ ส่วนอันล่างใช้สกรูเป็นตัวช่วยต้านไม่ให้คาลิเปอร์ที่มีสปริงอยู่แล้วดีดกว้างเกินกว่าขนาดวัตถุ



คาลิเปอร์ภายนอก

คาลิเปอร์ภายนอก ใช้สำหรับวัดขนาดวัตถุจากภายนอก ตัวคาลิเปอร์ทำจากเหล็กที่มีคาร์บอนเป็นส่วนผสมสูง



คาลิเปอร์แบ่งส่วน หรือวงเวียน

คาลิเปอร์แบ่งส่วน (divider caliper) หรือคาลิเปอร์วงเวียน นิยมใช้ในการกำหนดตำแหน่งต่าง ๆ ในงานช่างโลหะ ปลายของคาลิเปอร์นิยมทำให้แหลมและแข็ง สามารถใช้กำหนดจุดตำแหน่งและวาดวงกลมบนแผ่นโลหะเพื่อเตรียมตัดเป็นรูปโค้งหรือวงกลมต่อไปตามต้องการ 



คาลิเปอร์ขางอ

คาลิเปอร์ขางอ (Oddleg caliper) หรือคาลิเปอร์กะเทย (hermarphrodite calipers) เป็นคาลิเปอร์ที่มีลักษณะทั่วไปคล้าย ๆ กับคาลิเปอร์แบ่งส่วน แตกต่างกันตรงที่ขาหนึ่งของคาลิเปอร์จะหักงอไป ซึ่งขาที่หักนั้นใช้สำหรับทาบบนขอบชิ้นงานที่ต้องการวัด ส่วนอีกขาหนึ่งใช้วัดระยะจากจุดอ้างอิง จากภาพ คาลิเปอร์อันบนมีขาส่วนงอขนาดเล็กมาก ส่วนคาลิเปอร์อันล่างมีขางอใหญ่ ทำให้ต้องมีขาตรงที่เปลี่ยนใหม่ได้เมื่อสึกหรอ




แวร์นีเยคาลิเปอร์ หรือเวอร์เนียร์คาลิเปอร์


ส่วนประกอบของเวอร์เนียร์:
1. ก้ามปูวัดภายนอก ใช้วัดขนาดภายนอกของวัตถุ เช่น ความหนาของหนังสือ
2. ก้ามปูวัดภายใน ใชวัดขนาดภายในของวัตถุ
3. ขาวัดความลึก ใช้หยั่งวัดความลึกในท่อหรือรูเปิด
4. ไม้บรรทัดหลัก (เมตริก)
5. ไม้บรรทัดหลัก (อังกฤษ)
6. ไม้บรรทัดย่อย/ไม้บรรทัดเวอร์เนียร์ (เมตริก)
7. ไม้บรรทัดย่อย (อังกฤษ)
8. สลักยึด กดสลักนี้จนกระทั่งขยับเวอร์เนียร์ไม่ได้ แล้วยกออกมาอ่านจะทำได้สะดวกขึ้น
แวร์นีเยคาลิเปอร์ หรือเวอร์เนียร์คาลิเปอร์ (Vernier caliper) หรือเวอร์เนียร์ เป็นคาลิเปอร์ชนิดที่ดัดแปลงจากคาลิเปอร์ทั้งสามชนิดที่กล่าวมาแล้ว คือ เป็นก้ามปูที่ข้างหนึ่งติดไม้บรรทัดยาว อีกข้างติดไม้บรรทัดอันเล็กที่เลื่อนได้ ไม้บรรทัดทั้งสองมีขีดวัดที่เยื้องกันตามที่กำหนด การวัดใช้วิธีถ่างเวอร์เนียร์ออกแล้วปรับให้ตรงกับขนาดสิ่งที่ต้องการวัด ลงสลักยึด แล้วจึงยกออกมาอ่านค่า โดยดูว่า เส้นบนไม้บรรทัดรองเส้นใดตรงกับเส้นที่อยู่บนไม้บรรทัดหลัก ให้ถือเส้นนั้นเป็นทศนิยมตัวท้ายสุดที่จะนำมาต่อกับค่าที่วัดได้จากไม้บรรทัดหลัก
เวอร์เนียร์ที่มีจำหน่ายตามท้องตลาดมักจะมีทั้งมาตราเมตริกและมาตราอังกฤษไว้ด้วยกันเพื่อความสะดวก ในทางอุตสาหกรรมเวอร์เนียร์มักกำหนดความละเอียดไว้ที่ 0.01 mm หรือหนึ่งในพันนิ้ว

คาลิเปอร์แบบเข็ม

คาลิเปอร์แบบเข็ม (dial caliper)พัฒนามาจากเวอร์เนียร์ โดยเปลี่ยนแปลงจากไม้บรรทัดสองอันเลื่อนได้ เป็นเฟืองตรง (pinion) และเฟืองสะพาน (rack) เมื่อขยับคาลิเปอร์ เฟืองสะพานซึ่งเป็นแท่งตรงมีเขี้ยวจะเลื่อน ส่งผลให้เฟืองตรงที่ขัดอยู่หมุนกลไกที่อยู่บนหน้าปัด โดยมากมักกำหนดให้ครบรอบถ้าเลื่อนเฟืองสะพานไปได้หนึ่งนิ้ว หนึ่งในสิบนิ้ว หรือหนึ่งมิลลิเมตร จากความจริงดังกล่าวทำให้เมื่อจะอ่านคาลิเปอร์หน้าปัด จะต้องนำค่าที่อยู่บนไม้บรรทัดหลักมารวมกับค่าที่เข็มชี้บนหน้าปัดด้วย

คาลิเปอร์แบบดิจิทัล

คาลิเปอร์แบบดิจิทัล (digital caliper) เป็นคาลิเปอร์ที่ดัดแปลงจากเวอร์เนียร์ โดยให้ไม้บรรทัดหลักมีแถบขนาดเล็กมากจารึกไว้ตามช่วงความยาวต่าง ๆ ซึ่งจะถูกอ่านโดยตัวเข้ารหัสเชิงเส้น (linear encoder) ซึ่งจะอ่านค่าออกมาเป็นความยาว คาลิเปอร์แบบดิจิทัลมีข้อดีคือ ใช้งานง่ายเพียงวัดและอ่านค่า รวมไปถึงเปลี่ยนหน่วยได้ด้วย คาลิเปอร์แบบดิจิทัลบางรุ่นสามารถต่อเข้ากับเครื่องบันทึกหรือคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลได้ ส่วนข้อเสียที่เห็นได้ชัดคือ คาลิเปอร์แบบดิจิทัลต้องใช้เซลล์ไฟฟ้าที่มีอายุยาวนานมาก เช่น เซลล์เงิน แทนที่จะใช้เซลล์อัลคาไลน์ เพราะตัวคาลิเปอร์เองยังคงกินไฟแม้จะได้กดปุ่มปิดแล้วก็ตาม ในคาลิเปอร์บางรุ่นไฟฟ้าที่ใช้อาจมากถึง 20 ไมโครแอมแปร์
คาลิเปอร์ดิจัทัลโดยทั่วไปมีความยาว 150 mm ทำจากเหล็กกล้าไร้สนิม มีความละเอียด 0.01 mm และความแม่น 0.02 mm คาลิเปอร์บางอันอาจทำให้ยาวได้ถึง 8 นิ้ว หรือ 12 นิ้ว แต่ก็ทำให้ความแม่นลดลงไปที่ 0.001 นิ้ว (0.03 mm)

ไมโครมิเตอร์

ไมโครมิเตอร์เป็นคาลิเปอร์ชนิดหนึ่งที่ดัดแปลงจากปากกา โดยต่อส่วนที่เคลื่อนที่ของปากกาเข้ากับสกรูเปลี่ยนระยะ (differential screw) ซึ่งช่วยทำให้สามารถขยายระยะที่ปากกาหมุนให้อ่านออกเป็นความยาวได้ละเอียดดียิ่งขึ้น
  • ไมโครมิเตอร์วัดภายนอก (outside micrometer) หรือไมโครมิเตอร์คาลิปเปอร์ เป็นแบบที่นิยมใช้กันมากที่สุด ลักษณะเป็นปากกาหนีบวัตถุ ใช้วัดความหนา ความกว้าง หรือเส้นผ่านศูนย์กลางของเส้นลวด ทรงกลม หรือวัตถุใด ๆ ที่ต้องการ
  • ไมโครมิเตอร์วัดภายใน (inside micrometer) ใช้วัดเส้นผ่านศูนย์กลางของรูเปิดและท่อ
  • ไมโครมิเตอร์วัดความลึก (depth micrometer) ใช้วัดความลึกของช่องเปิด
นอกจากนี้ยังมีไมโครมิเตอร์แบบอื่นอีกหลายชนิด ซึ่งก็ล้วนแต่ดัดแปลงจากไมโครมิเตอร์ทั้งสามแบบตามที่กล่าวมาแล้ว ตัวอย่างเช่น ไมโครมิเตอร์วัดความหนาผนังท่อ ก็อาจปรับให้ส่วนนิ่งของปากกาเป็นทรงกลมโค้งสอดรับกับตัวท่อ หรือหากต้องการวัดความลึกของร่อง หัววัดอาจทำเป็นทรงเข็มแหลม เป็นต้น




ขอบคุณที่เข้ามาอ่านนะครับเพือนๆมีอะไรผิดพลาดก่ เม้นมานะครับ
อ้างอิงจากข้อมูลจากhttps://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%84%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C#.E0.B8.84.E0.B8.B2.E0.B8.A5.E0.B8.B4.E0.B9.80.E0.B8.9B.E0.B8.AD.E0.B8.A3.E0.B9.8C.E0.B8.A0.E0.B8.B2.E0.B8.A2.E0.B9.83.E0.B8.99
และรูปจากhttp://indyindykawaii.exteen.com/20130225/entryและ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

หน่วยการวัด