หน่วยการวัด
ระบบเมตริก
ระบบเมตริก คือ หน่วยวัดความยาวเป็น มิลลิเมตร เมตร กิโลเมตร หน่วยวัดน้ำหนักเป็นกรัม กิโลกรัม หน่วยวัดอุณหภูมิเป็น เซนติเกรด (ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นเซลเซียส)
ระบบเมตริก เริ่มใช้กันภายหลังการปฏิวัติในฝรั่งเศส ในปี ค.ศ. 1789 นักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศสได้ประชุมร่วมกันจัดตั้งมาตรฐานในการวัดขึ้น พวกนักวิทยาศาสตร์เหล่านั้นได้ทำการวัด และคำนวณระยะทางจากขั้วโลกเหนือ จนถึงเส้นศูนย์สูตร แล้วแบ่งเป็น 10 ล้านส่วน แต่ละส่วนเรียกว่า 1 เมตร ระบบเมตริกเป็นระบบที่ใช้สิบหรือทศนิยมเป็นหลักเช่น 10 เซนติเมตรเท่ากับ 1 เดซิเมตร 10 เดซิเมตรเท่ากับ 1 เมตร ความยาว 1 เมตรมาตรฐานทำด้วยแท่งโลหะ เก็บไว้ที่กรุงปารีส
หน่วยวัดน้ำหนักระบบเมตริก
10 มิลลิกรัม = 1 เซนติกรัม
10 เซนติกรัม = 1 เดซิกรัม
10 เดซิกรัม = 1 กรัม
10 เดคากรัม = 1 เฮกโตกรัม
10 เฮกโตกรัม = 1 กิโลกรัม
1,000 กิโลกรัม = 1 เมตริกตันหรือตัน
10 เซนติกรัม = 1 เดซิกรัม
10 เดซิกรัม = 1 กรัม
10 เดคากรัม = 1 เฮกโตกรัม
10 เฮกโตกรัม = 1 กิโลกรัม
1,000 กิโลกรัม = 1 เมตริกตันหรือตัน
ระบบอังกฤษ
ระบบอังกฤษ เป็นหน่วยที่ใช้ในกลุ่มประเทศอเมริกา อังกฤษและแคนนาดา ซึ้งเป็นหน่วยที่มีใช้เป็นเลขจำนวนเต็ม เลขทศนิยมและเศษส่วน
ระบบอังกฤษ ตั้งแต่เกิดการปฏิวัติฝรั่งเศส การวัดระบบเมตริกก็เกิดขึ้น และได้เผยแพร่ไปทั่วโลกแทนที่ระบบการวัดตามประเพณีเป็นส่วนมาก ในระบบส่วนใหญ่ ความยาว (ระยะทาง) น้ำหนัก และเวลา ถือเป็นปริมาณมูลฐาน หรือมิฉะนั้นปริมาณที่ดีกว่าก็จะเป็นที่ยอมรับในทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ เช่นการใช้มวลแทนน้ำหนักซึ่งเป็นพารามิเตอร์ที่มูลฐานกว่าและดีกว่า การวัดบางระบบได้เปลี่ยนแปลงไปเพื่อยอมรับความสัมพันธ์ระหว่างระบบที่เพิ่มขึ้น ตัวอย่างหนึ่งที่เห็นได้ชัดคือการแก้ไขกฎหมายสำหรับการวัดระบบอังกฤษเมื่อ ค.ศ. 1824
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น